ทำคลอดบนเรือสปีดโบ๊ท! ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมาผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Phittayakorn Rattanasuwan โพสต์เล่าเรื่องราวที่ทั้งน่าตื่นเต้น และน่ายินดี กรณีของคุณแม่ตั้งครรภ์ใกล้คลอดท่านหนึ่ง ปวดท้องคลอดกลางดึกบนเกาะหลีเป๊ะ แต่หลังจากพยายามคลอดที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะหลีเป๊ะ ก็ยังไม่สามารถคลอดได้ จึงตัดสินใจนำคุณแม่และทีมแพทย์ ขึ้นเรือข้ามเกาะมาคลอดบนฝั่งแทนJack88 แต่ระหว่างที่ออกเรือมาได้กลางทาง ทีมแพทย์ต้องตัดสินใจทำคลอดกันบนเรือเพราะจะไม่ทัน โดยโพสต์ระบุว่า
“ขอบคุณทีมแพทย์ พยาบาล ของ รพ.สต.เกาะหลีเป๊ะ มากครับ เคสทำคลอดในเรือ ตอนนี้ปลอดภัยทั้งแม่และลูกครับ ขอบคุณกัปตันเรือ บารมี 1 และผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยครับ น้องชื่อ บารมี ตั้งตามชื่อเรือที่น้องเกิดครับ”
สำหรับกรณีดังกล่าว ทราบภายหลังว่า คุณแม่คนดังกล่าวคือ นางวิไลพร ฉิมพลี 42 ปี Admclub24 ตอนแรกรอคลอดที่ รพ.สต.เกาะหลีเป๊ะ ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง แต่คลอดไม่สำเร็จ ด้วยปัญหาหลายอย่าง รวมทั้งการขาดแคลนเตียงทำคลอด เพราะ รพ.สต. ต้องปิดห้องคลอดจากสถานการณ์โควิดจึงต้องตัดสินใจ พาคุณแม่ขึ้นเรือสปีดโบ๊ท “บารมี 1” ส่งตัวตอนกลางคืน ทารกที่คลอดเป็นเพศหญิง หลังจากที่ทำคลอดบนเรือสำเร็จ ก็รีบขับเข้าเทียบท่าเรือปากบารา ก่อนส่งต่อทั้งเเม่เเละเโกให้กับทาง รพ.ละงู รับดูแลต่อ
โดยแพทย์ผู้ทำคลอดบนเรือ ได้เขียนข้อความเล่าประสบการณ์สุดระทึกครั้งนี้เอาไว้ ในเฟซบุ๊กชื่อ Narasak Bcns Binda-oh ระบุว่า
“ชีวิตที่แขวนไว้อยู่กลางทะเล”
18.00 น. มารดา elderly pregnancy 42 years G4P3A1L2 last 8 year GA 40wk by u/s EDC 9/10/64 true pain labor, I = 4’ 30″ D = 55″ onset pain 15.00 น. Intensity 2+ , mucous show , FHS 142 HE , V/s 114/70 pr 82 PV: Cx.8 cm eff 75% station +2 Vertex ROA MI คนไข้ lost f/u anc 3 เดือน
หลังจากประเมินคนไข้แล้ว ได้ทำการแจ้งว่าเข้าสู่ระยะที่ 1 ของการคลอดแล้ว โดยปกติแล้ว เมื่อประเมินคนไข้ หาก Cx dilate เข้าสู่ Transitional phase 8-10 cm จะไม่พิจารณา รีเฟอร์ขึ้นฝั่ง ร่วมด้วยกับปัจจัยสภาพอากาศ ที่ประกาศเตือนพายุ มรสุม การจะรีเฟอร์ขึ้นฝั่ง ความเสี่ยงระหว่างเดินทาง มากกว่าการคลอดที่เกาะ เลยเตรียมทำคลอดที่เกาะ
แต่ตลอดระยะเวลา 1 เดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา จากสถานการณ์โควิด ในเกาะหลีเป๊ะ ทำให้ทาง รพ.สต.ปิดห้องคลอด และได้ใช้สถานที่ห้องคลอดเก็บวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทำให้ในการทำการคลอดครั้งนี้ ไม่สามารถใช้ห้องคลอด และเตียงขาหยั่งได้ เลยพิจารณาทำคลอดในห้อง admit obs. ใช้เตียงปกติในการทำคลอดแทน
On canular 3 lmp on 0.9% nss rate 100/hr 19.00 น. Pv อีกครั้ง Cx full dilate eff 100 station +3 FHS 128-136 ผมทำการ ARM น้ำคร่ำ clear ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี เข้าสู่ ระยะที่ 2 ของการคลอด เริ่มเชียร์เบ่ง ติดตาม FHS เป็นระยะ
โดยปกติแล้วองค์ประกอบของการคลอด 6P ถ้าทุกอย่างไม่มีสิ่งไหนผิดปกติ การคลอดจะผ่านไปด้วยดีUsun88 แต่ในรายนี้ ในส่วน ของ Power แรงเบ่งคลอดของคนไข้ ไม่ดี อาจเนื่องจากภาวะ elderly ผ่านไป 30 นาที การเคลื่อนของทารก ยังไม่ head seen ร่วมกับ physiological เริ่มมีวิตกกังวล จึงได้ติดต่อ consult ศูนย์สั่งการ เพื่อขอคำแนะนำ
19.45 น. หลังเชียร์เบ่งไป 45 นาที ก็ยังคลอดไม่ได้ ศูนย์จึงอนุญาตให้เตรียมเรือนำส่งขึ้นฝั่ง (ความคิดส่วนตัวผม ผมไม่อยากนำส่งขึ้นรีเฟอร์เลย การที่นำส่งในกรณี Cx fully แล้ว กับสภาพอากาศที่ประกาศเตือนพายุ เป็นความเสี่ยงอย่างยิ่ง ทั้งตัวมารดาและทารกในครรภ์ รวมถึงคนทำคลอด ผมนึกในใจ มีโอกาศสูงมาก ที่จะ BBA ลองจินตนาการดูว่าถ้าเรือโยกไปมาด้วยแรงปะทะของคลื่น การทำหัตการใดๆบนเรือไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แถม ในเวลากลางคืน ลมทะเลที่แรง โอกาสที่จะเกิดภาวะ hypothermia ในทารกก็เป็นไปได้สูง)
แต่เมื่อ ศูนย์อนุมัติรีเฟอร์ ประกอบกับ มารดายังไม่มีแรงเบ่ง ก็คงต้องตัดสินใจไปรีเฟอร์ เลยหยิบโทรศัพท์ โทรหากับตันเรือ บารมี speed boat เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับสภาพอากาศ กับตันบอกว่า ตอนนี้ที่เกาะลมสงบครับ แต่คาดว่าพอออกพ้นเกาะไปแล้ว จะมีคลื่นและลมครับ เลยถามกับตันย้ำไปว่า กับตันคิดว่าปลอดภัยไหม กับตันตอบกลับมาว่า ถ้าเรือทำความเร็วได้ดี น่าจะไม่มีปัญหาครับ
20.00 น. ทีมไลฟ์การ์ดเกาะหลีเป้ะ เข้ามาช่วยเคลื่อนย้ายเคส ลงเรือสปีดโบ๊ท จนท. รพ.สต.ลงเรือไปด้วย 3 คน จนท.ไลฟ์การ์ดลงเรือไปด้วย 1 คน แบ่งหนัาที่คือ ผม ทำคลอด พี่หนึ่ง ผู้ช่วยคลอด น้องมัซ รับเด็ก น้องธร ไลฟ์การ์ด คอยช่วยเหลือทั่วไป โดยจัดให้คนไข้ นอนราบท้ายเรือใส่ เปล basket stretcher ไว้
20.02 น. เรือออกจากเกาะ วิ่งไปได้สักพัก ปัญหาเกิด สายน้ำเกลือที่ on ไว้ ดันมา clot ซะงั้น พยายามที่จะแก้ปัญหา โดยการแต่งสาย พุช nss เคลีย clot ก็ไม่ไหลซักที แล้วก็ตามคาด พอออกพ้นเกาะอาดังไปเท่านั้น ลมและคลื่นที่ดูเหมือนจะสงบ กลับไม่ได้เป็นอย่างนั้น คลื่น 2-3 เมตร เริ่มปะทะเข้ากับลำเรือ เรือกระแทกแต่ละที จะทำไรก็ไม่สะดวกเลย ความมืดในเวลากลางคืน ก็เป็นอุปสรรคในการประเมินเคส แสงไฟอย่างเดียวที่ช่วย ในการมองเห็น คือไฟฉายจากโทรศัพท์มือถือ ที่ญาติคนไข้และน้องธรช่วยส่อง ขณะนั้น คนไข้ก็บ่นปวดท้องและออกแรงเบ่งเรื่อยๆ เรือวิ่งผ่านไปประมาณ 20 นาที ก็เห็น head seen ซวยแล้วผมนึกในใจ ก็เป็นไปตามคาด ว่าโอกาสคลอดในเรือสูงมาก ในตอนนั้นพวกเรา ทุกคนรีบเข้ามาอยู่ใน position ในการทำคลอด เริ่มเชียร์เบ่ง และsafe perineum
เข้าสู่กลไกลการคลอด เมื่อเห็น head crown ในสภาวะปกติ เมื่อเห็น head crown เราสามารถเตรียมตัด episiotomy ได้ ไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่เมื่อคุณอยู่ในเรือ ที่กระดอนไปมา ด้วยแรงกระแทกของคลื่น เลิกคิดไปได้เลย ว่าจะตัดได้ แค่ประคอง safe perineum ไม่ไห้ tear ยังยากเลย
ในขณะนั้นกลไกลการคลอดก็ดำเนินไป เด็กเริ่ม Extension,Restitution,External rotation และแล้วสิ่งที่กังวลที่สุดก็เกิด เมื่อทำการหมุนศีรษะเตรียมพร้อมทำการคลอดไหล่ บอกให้คนไข้หยุดเบ่ง แล้วน้องมัซรีบทำการ suction ทารกที่ศีรษะ ใบหน้าจมูกและปาก โผล่พ้นมาจากช่องคลอด แต่กลไกลการคลอด Expulsion ไม่สำเร็จ เด็กยังคาอยู่อย่างนั้น นานกว่า 4 นาที ยอมรับเลย ณ ตอนนั้นพวกเรา รู้สึกทำไรไม่ถูก ผมพยามดึงโน้มศีรษะทารกลงมาไห้ได้มากที่สุด แต่เนื่องด้วย position ที่ไม่เอื้ออำนวยในการโน้มลงมา และแรงกระแทกคลื่นที่มีต่อเรือ ทำให้การทรงตัวลำบาก จำได้ว่าตอนนั้นผมดุอาร์ สวดอ้อนวอนพระเจ้า พี่หนึ่งมาเล่าไห้ฟังที่หลังว่า แกก็บนหลวงปู่ทวด บนโต๊ะคีรี ขอให้เด็กคลอดออกมาไห้ได้ เวลาตอนนั้นเป็น 4 นาที ที่นานมากๆที่สุดในชีวิตผม มือทั้งสองประคองศีรษะทารกพยายามโน้มศีรษะลงมา พี่หนึ่งใช้มือดกดตรงหัวหน่าว เพื่อกดไห้ไหล่ หลุดออกมา
และแล้ว ในที่สุด 20.28 น. จังหวะที่เรือกระแทกกับคลื่น เหมือนเป็นการเสริมแรงบวก ณ ตอนนั้น เด็กน้อยก็หลุดออกมาได้ แต่เด็กกลับนิ่ง ไม่ร้อง ไม่เคลื่อนไหวใดๆ น้องมัซรีบทำการsuction กระตุ้นเด็ก ใช้เวลากว่านาที เด็กถึงเปล่งเสียงร้องออกมา เสียงร้องที่เปล่งออกมานั้น เปรียบเหมือนเสียงสวรรค์ นาทีนั้น คือนาทีแห่งความดีใจ รับรู้ได้ถึงความหวัง รับรู้ถึงชีวิต ชีวิตหนึ่งที่ลืมตาดูโลกมาได้ หลังจากนั้นผมทำการ clamp cord เพื่อทำการเตรียมตัดสายสะดือ จำได้ว่าตอนนั้นทุกสิ่งทุกอย่างวุ่นวายไปหมด พยายามจะ clamp cord แต่ clamp เท่าไหร่ก็ไม่ติดสักที พอดูๆอ้าว ที่ได้รับการส่งมาไห้ ไม่ใช่ artery clamp แต่กับ เป็น needle holder ซะงั้น !!
ความมืด มีเพียง แสงสว่างจากไฟฉาย กับสภาพความตึงเครียดความกดดัน ทำไห้เกิดการเบลอๆ แต่ก็นั้นแหละ เมื่อตั้งสติได้ น้องมัซหยิบ artery clamp มาให้ ก็ทำการ clamp cord แล้วตัดสายสะดือ น้องมัซทำหน้าที่ แยกเด็กออกมาดูแล suction กระตุ้น และ keep warm ผมเตรียมทำคลอดรก แต่ประเมิน estimate blood loss ที่มารดาเสียค่อนข้างมาก ประมาณว่าน่าจะเกิน 500 cc และตอนนั้น IV ที่ on ไว้ ก่อนลงเรือก็ clot ไปซะแล้ว จำเป็น ต้องเปิดใหม่ ผมรีบคลึงมดลูก เพื่อกระตุ้นให้มดลูกแข็งตัว พี่หนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะเปิด IV ให้คนไข้ น้องธร ไปหยิบ หาอุปกรณ์มาเตรียมให้พี่หนึ่งเปิดเส้น ในขณะที่เรือกระแทกไปมากับคลื่น เป็นเรื่องยากมากๆที่จะเปิดได้ โดยเฉพาะเส้นในตำแหน่งหลังมือ แต่ด้วยประสบการณ์ของพี่หนึ่ง พี่หนึ่งเลือกที่จะเปิดเส้น เลือดดำใหญ่ ที่ข้อพับแขน และสามารถเปิดได้ จึงรีบทำการ load IV ดูเหมือนสถานการณ์ต่างๆจะเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดี พวกเราทุกคนเหมือนรู้สึกยกภูเขาออกจากอก มันโล่งแปลกๆ แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวัง ติดตามอาการทั้งทารกและมารดา และลุ้นให้เรือไปถึงฝั่งไห้เร็วที่สุด เพื่อไห้ทีม รพ.ละงู รับเด็กและมารดา ไปตรวจร่างกายอย่างละเอียดอีกที
หลังสถานการณ์คลี่คลายลง ในตอนแรกพวกเราแทบไม่รับรู้ถึงความน่ากลัวของคลื่นลม ระหว่างที่ช่วยกันทำคลอด เพราะตอนนั้น focus กับการทำคลอด แต่ ณ ตอนนี้ เริ่มรู้สึกได้ถึง คลื่นและลมที่ถาโถมเข้ามา ปะทะกับเรือ น้องมัซยังดูแลทารกน้อย เพศหญิงไปตลอดทาง ที่เรือแล่นเข้าหาฝั่ง ผมกับพี่หนึ่ง นั้งและนอนภาวนาให้เรือถึงฝั่งไวๆ
และเมือถึงจุดที่มีสัญญาณโทรศัพท์ น้องมัซรีบโทรประสาน ให้ทีม รพ.ละงูออกมา stanby รับเคสที่ท่าเรือปากบารา
21.20 น. ในที่สุดเรือก็กำลังเข้าเทียบฝั่ง พวกเราตรวจความเรียบร้อย ประเมินมารดาและทารก ก่อนส่งให้กับทาง รพ.ละงูรับดูแลต่อ และนั้นคือเหตุการณ์บางส่วนที่เกิดขึ้น ที่ผมพอจะจำได้ เมื่อคืนผมเลยเขียนความรู้สึกส่วนหนึ่ง โพสต์ในสเตตัสผ่านเฟซบุ๊ก
ใจหนึ่งพวกเราทุกคนดีใจและภูมิใจ ที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำไห้ชีวิตหนึ่งชีวิตเกิดขึ้นมาได้ แต่อีกใจหนึ่ง ก็รับรู้ได้ถึงความเสี่ยงที่อันตรายที่ไม่ควรจะเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ แน่นอนครับ เหมือนที่ผมเคยพูดไป วันนี้เราอาจโชคดี แต่ถ้าวันหนึ่ง ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นดั่งเช่นวันนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเราไหม ? นั้นคือคำถามที่วนเวียนอยู่ในความรู้สึกผม ภาวะเสี่ยงเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้นเลย
เคสไหนที่มีภาวะเสี่ยง เมื่อไกล้ถึงกำหนดวันคลอดแล้ว ขอให้ขึ้นฝั่งไปเตรียมตัวคลอดบนฝั่ง จะดีที่สุด
และในกรณี ที่เข้าสู่ transitional phase ปากมดลูกเปิดเกิน 8 ซม ขึ้นไป โดยเฉพาะเคสที่ไม่ใช่ primigavidalum ไม่สมควรรีเฟอร์ ทุกกรณี การ BBA ระหว่างนำส่งถือเป็นอันตรายอย่างมาก
และในกรณีที่สภาพอากาศมีมรสุม มีประกาศเตือนพายุ นั้นคือความเสี่ยง ที่ทั้งคนไข้และ จนท.เองต้องเผชิญ สิ่งเหล่านี้ควรได้รับการป้องกันและแก้ไข หาแนวทาง ทางออกที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้อีก
สุดท้ายนี้ผมขอขอบพระคุณทุกๆคนที่มีส่วนร่วมช่วยเหลือในเหตุการณ์ครั้งนี้นะครับ ขอบคุณครับ ปล.ได้โทรสอบถามไปยังเพื่อนที่ รพ.ละงู ทั้งทารกและมารดาปลอดภัยดีครับ
#บันทึกไว้ในความทรงจำ
หากท่านมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Andaman888
หรือ Line : @Andaman888
ทาง Andaman888 ยินดีให้บริการกับท่านตลอด 24 ชั่วโมง